ระบบติดตั้งแบบเสาเข็มเจาะสำเร็จรูป
เป็นการติดตั้งเสาเข็มโดยการใช้สว่าน (แกนใน) เจาะดินให้มีรูขนาดเท่ากับเสาเข็มพร้อมกับกด Casing (แกนนอก) ไปพร้อมกัน เมื่อถึงความลึกที่ต้องการจะทำการเป่าลมไล่เศษดินและฉีดน้ำปูนที่ก้นหลุม จากนั้นจะติดตั้งเสาเข็มตลอดความยาวโดนการหย่อนลงในหลุมที่เตรียมไว้ก่อนหน้า แล้วจึงถอด Casing พร้อมเป่าอัดลมไล่น้ำปูนเพื่อเติมช่องว่างระหว่างเสาเข็มกับชั้นดิน ปิดท้ายด้วยการตอกเสาเข็มด้วยวิธี Tapping 5-10 ครั้ง เพื่อให้อยู่ในชั้นดินที่ต้องการ
ข้อดีของระบบติดตั้งแบบเสาเข็มเจาะสำเร็จรูป
ขั้นตอนการติดตั้งด้วยระบบติดตั้งแบบเสาเข็มเจาะสำเร็จรูป
1. กำหนดจุดที่จะทำการเจาะ
2. เจาะดินให้มีรูขนาดเท่ากับเสาเข็มพร้อมกับกด Casing ไปพร้อมกัน
3-4. เมื่อถึงความลึกที่ต้องการจะทำการเป่าลมไล่เศษดินและฉีดน้ำปูนที่ก้นหลุมไปพร้อมกัน
5. ทำการติดตั้งเสาเข็มโดยการหย่อนลงในหลุมที่เตรียมไว้
6. ถอด Casing พร้อมเป่าอัดลมไล่น้ำปูนเพื่อเติมช่องว่างระหว่างเสาเข็มกับชั้นดิน
7. ปิดท้ายด้วยการตอกเสาเข็มด้วยวิธี Tapping 5-10 ครั้ง เพื่อให้อยู่ในชั้นดินที่ต้องการ
เป็นการติดตั้งเสาเข็มที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากขั้นตอนการติดตั้งไม่ซับซ้อนและประหยัด โดยใช้วิธีการยกลูกตุ้มให้สูงขึ้น จากนั้นทำการปล่อยลูกตุ้มให้ตอกกระแทกเสาเข็มตลอดความยาวของเสาเข็ม
เป็นการติดตั้งเสาเข็มด้วยระบบไฮดรอลิคจะทำการกดเสาเข็มด้วยน้ำหนักที่ต้องการ เปรียบเสมือนได้ทำทดสอบการรับน้ำหนักเสาเข็มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้เมื่อติดตั้งเสาเข็มเสร็จสมบูรณ์แล้ว ไม่จำเป็นต้องทดสอบเสาเข็มก็สามารถมั่นใจได้ว่าเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ต้องการ
เป็นการติดตั้งเสาเข็มโดยการเจาะนำดินออกก่อนทำการตอกเสาเข็มเพื่อที่จะลดแรงสั่นสะเทือนและแรงดันดิน เนื่องจากการตอกหรือกรณีที่สภาพดินในบริเวณนั้นๆ มีสภาพที่แข็งมากๆ จากนั้นจึงทำการตอกเสาเข็มไปในหลุมที่ทำการเจาะนำไว้
เป็นการติดตั้งเสาเข็มโดยการนำสว่านติดตั้งเข้าไปในรูของเสาเข็ม ในขั้นตอนการติดตั้งจะทำการเจาะนำดินออกมาผ่านรูของเสาเข็มพร้อมกับกดเสาเข็มลงไปด้วย เมื่อกดเสาเข็มใกล้ถึงความยาวที่ระบุไว้จะทำการตอกเสาเข็มปิดท้าย